เมนู

ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน จักกระทำ
ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล ข้อนั้น
ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.
จบนิพพานสูตรที่ 6

7. ปฐมอโนทิสสูตรที่ 1


ว่าด้วยอานิสงส์ทำให้เกิดอนิจจสัญญา 6 ประการ


[373] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ 6 ประการ
เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญาให้
ปรากฏ อานิสงส์ 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า สังขาร
ทั้งปวงจักปรากฏโดยความเป็นของไม่มั่นคง 1 ใจของเราจักไม่ยินดีในโลก
ทั้งปวง 1 ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง 1 ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน 1
สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้ 1 และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญ-
ธรรม ชั้นเยี่ยม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ 6
ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยัง
อนิจจสัญญาให้ปรากฏ.
จบปฐมอโนทิสสูตรที่ 7

อรรถกถาปฐมอโนทิสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอโนทิสสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อโนธึ กริตฺวา ความว่า ไม่ทำให้มีขอบเขต คือเขตแดน
อย่างนี้ว่า สังขารมีประมาณเท่านี้แหละไม่เที่ยง นอกจากนี้ไป ไม่ใช่ไม่เที่ยง
(คือเที่ยง). บทว่า อนวฏฺฐิตโต ความว่า เว้นจากฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้)
เพราะความเป็นของไม่มั่นคง อธิบายว่า จักเป็นสภาวธรรมแตกดับไป แล้ว
จึงหยุด. บทว่า สพฺพโลเก ควานว่า ในโลกทั้งสิ้น ได้แก่ในธาตุทั้ง 3.
บทว่า สามญฺเญน ความว่า โดยความเป็นสมณะ อธิบายว่า ได้แก่พระ-
อริยมรรค.
จบอรรถกถาปฐมอโนทิสูตรที่ 7

8. ทุติยอโนทิสสูตร


ว่าด้วยอานิสงส์ที่ทำให้เกิดทุกขสัญญา 6 ประการ


[374] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ 6 ประการ
เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้
ปรากฏ อานิสงส์ 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า นิพพาน-
สัญญาในสังขารทั้งปวง จักปรากฏแก่เราเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นอยู่ 1
ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง 1 เราจักเป็นผู้มีปกติเห็นสันติในนิพพาน 1
อนุสัยของเราจักถือการเพิกถอน 1 เราจักเป็นผู้กระทำตามหน้าที่ 1 และเรา